วงการ ขายออนไลน์ สุดเฟื่องฟู สาเหตุหนุ่งก็มาจากสถานการณ์ โควิด ที่ทำให้หลาบๆจังหวัด ต้องกักตัว ทำชีวิตเปลี่ยน จนทำให้ต้องหาลู่ทางใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพ หลายๆ คนจึงสนใจอยากเป็น “แม่ค้าออนไลน์” ว่าแต่..การจะเริ่มต้นอาชีพนี้ ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง?
1. สินค้าอะไร ขายออนไลน์ ได้บ้าง?
สินค้าเกือบทุกอย่างในทุกวันนี้ ก็สามารถขายออนไลน์ได้เกือบทั้งหมด เพราะการขายออนไลน์ ไม่ได้มีข้อจำกัด เช่น เสื้อผ้า แฟชั่น เครื่องประดับ ของเล่น เครื่องสำอาง อาหารเสริม อาหารแห้ง อุปกรณ์ไอที เครื่องดนตรี สินค้าแฮนเมด อุปกรณ์แต่งบ้าน-แต่งรถ แอพพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ หรือแม้กระทั่ง บัตรกำนัล ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม สปา เสริมสวย ฯลฯ
2. การตลาดออนไลน์
สิ่งสำคัญที่เป็นขาดไม่ได้เลย สำหรับการขายออนไลน์ คือ “การตลาดออนไลน์” เพื่อช่วยเพิ่มช่องทางการขายและการตลาด สื่อเหล่านี้สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ง่ายและรวดเร็ว ผู้ซื้อและผู้ขายโต้ตอบกันได้ทันที ช่องทางการทำตลาดออนไลน์ เช่น…
- Social Marketing การตลาดออนไลน์ที่เน้นการเข้าถึงกลุ่มคนบนโลก Social Network ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, TikTok, Twitter, Instagram, Youtube ฯลฯ อีกมากมาย โดยการตลาดบน Social Marketing มักจะได้รับความนิยมมากกว่าช่องทางอื่นๆ
- Search Engine Marketing คือ การตลาดบน Search Engine เป็นการทำให้สินค้าติดหน้าแรกของ Google หรือที่เรารู้จักกันในนามของ SEO (Search Engine Optimization) เป็นการปรับแต่งเว็บไซต์ หรือปรับปรุงเนื้อหาที่มีคุณภาพ เพื่อให้เว็บไซต์หรือสินค้าติดหน้าแรกของ Google ทำให้ลูกค้ามีโอกาสในการคลิ๊กเข้าถึงสินค้าได้มากกว่า
- Email Marketing คือ การตลาดโดยใช้ช่องทางของอีเมล เพื่อกระจายข่าวสาร หรือนำเสนอโปรโมชั่นต่างๆ ไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เรียกได้ว่า Email Marketing เป็นช่องทางที่ใช้ต้นทุนการตลาดที่ถูกที่สุดเลยก็ว่าได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการตลาดบนช่องทางอื่นๆ
- Line Marketing คือ การตลาดผ่านแอพพลิเคชั่น อย่างเช่น Line ด้วยการเผยแพร่ข่าวสาร อัพเดทโปรโมชั่น ต่างๆ เรียกได้ว่าเป็นแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยการเก็บรวมข้อมูลพบว่าในประเทศไทยของเรามีผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Line มากกว่า 83 % เลยทีเดียว
- Banner การทำโฆษณาโดยใช้ Banner ของเว็บไซต์ต่างๆ ก็เป็นอีกหนึ่งกระแสที่ค่อนข้างจะได้รับความสำคัญ เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาหารที่นำโฆษณาไปฝากไว้ตามเว็บไซต์อาหาร หรือเว็บไซต์แหล่งรวบรวมร้านอาหาร รีวิวร้านอาหาร ในขณะที่ธุรกิจโรงแรมได้นำโปสเตอร์โฆษณาไปฝากไว้ตามเว็บท่องเที่ยว เป็นต้น (1)
3.ช่องทางการชำระเงิน
ยิ่งมีตัวเลือกการชำระเงินมากก็จะยิ่งทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น ที่สำคัญผู้ที่เริ่มต้นขายของออนไลน์ต้องมั่นใจว่าจะสามารถคุมช่องทางการชำระเงินได้ทั้งหมด และตรวจสอบเงินเข้าเงินออกได้ในทันที
- โอนผ่านธนาคาร การโอนเงินเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมาก เพราะเพียงเข้าไปในแอปพลิเคชันของธนาคารก็สามารถกดโอนเงินได้ในไม่กี่วินาที สำหรับพ่อค้าแม่ค้าอย่าลืมกดสมัครรับบริการแจ้งเตือนเมื่อมีลูกค้าโอนเงินเข้า และแจ้งลูกค้าให้ส่งสลิปการโอนอิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยในการซื้อขาย
- ชำระผ่าน Payment Gateway ผู้ขายอาจหันมาใช้บริการ Payment Gateway โดยมี 2 ปรเภท คือ ระบบที่เชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรง เช่น K-Payment Gateway และ ระบบที่มีผู้ให้บริการตัวกลางชำระเงิน เช่น Omise, PayPal, Shopee pay หรือ Rabbit Line pay ที่ทุกวันนี้ก็ใช้งานได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
- ชำระผ่านบัตรเครดิต การรับชำระผ่านบัตรเครดิตเป็นอีกหนึ่งช่องทางการชำระเงินที่สร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าที่กำลังสะสมแต้มบัตรเครดิต หรือได้ส่วนลดจากการใช้จ่ายบนบัตร อีกทั้งบัตรเครดิตยังเหมาะมาก ๆ สำหรับการจับจ่ายหนัก ๆ ที่จะช่วยทำให้กิจการของเราคึกคักขึ้นได้ดีไม่น้อย
- เก็บเงินปลายทาง หรือ Cash on Delivery การเก็บเงินปลายทางเหมาะสำหรับลูกค้าที่อยากใช้เงินสดมากกว่าออนไลน์ หรืออาจจะสั่งซื้อของให้ผู้อื่น และต้องการให้บุคคลนั้นเป็นผู้ชำระเงินเองที่ปลายทาง วิธีนี้แม้จะดูง่ายสำหรับลูกค้าแต่สำหรับผู้ขายต้องตกลงกับผู้จัดส่งให้ดีถึงค่าธรรมเนียมที่อาจตามมาทีหลัง
4. อุปกรณ์แพ็ค ที่แม่ค้าออนไลน์ต้องมี
- เทปใส เทปกาว อุปกรณ์นี้ จำเป็นอย่างยิ่งในการแพ็ค สินค้า และเป็นส่วนสำคัญในการห่อพัสดุให้แน่นหนาภายนอก เพื่อที่จะไม่ให้กล่องแยกออกจากกันกรณีโดนทับจากกล่องพัสดุอื่น ๆ
- ที่ตัดเทป เป็นตัวช่วยที่จะช่วยอำนวยความสะดวก ที่ควรมีติดโต๊ะ ติดบ้าน ให้สามารถปิดเทปกาวได้ง่าย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยวิธีง่าย ๆ แค่ กด ลาก ปล่อย ตัดเทปง่ายด้วยมือเดียวทำให้การแพ็คสินค้าง่าย และประหยัดเวลาแพ็คไปได้เยอะเลย
- กระดาษห่อพัสดุ สำคัญในการแพ็คเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการห่อหุ้มสินค้าอีกชั้นนึง เพื่อให้สินค้าไม่สัมผัสกับกล่องโดยตรง แถมยังเพิ่มความสวยงาม และเพิ่มความแน่นหนาให้กับการแพ็ค ส่งสินค้าอีกด้วย
- ปากกาเคมี ปากกาเขียน CD เป็นอุปกรณ์แพ็คที่นิยมในการแพ็คสมัยก่อน เนื่องจากการจ่าหน้าซอง มักต้องเขียนด้วยมือ แม้ในปัจจุบันการเขียน ชื่อ ที่อยู่ ด้วยปากกาเคมีจะได้รับความนิยมน้อยลงจาก แม่ค้าออนไลน์ ที่หันมาใช้เครื่องปริ้นท์ใบปะหน้าเพื่อลดระยะเวลาทำงานให้น้อยลง แต่ปากกาเคมีก็สามารถนำไปเขียนระวังแตก หรือข้อระวังต่าง ๆ รอบกล่องเพื่อให้ขนส่งมองเห็นชัดเจนมากขึ้นได้
- สติ๊กเกอร์ใบปะหน้า ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่ แม่ค้าออนไลน์ สามารถปริ้นใบปะหน้า ที่อยู่ เครื่องปริ้นใบปะหน้าขนส่งต่าง ๆ อย่าง Flash , Kerry ใบปะหน้า บาร์โค้ด ที่อยู่ลูกค้า เพื่อขนส่งเข้มารับสามารถแสกนเข้าระบบขนส่งได้อย่างง่ายดาย
- อุปกรณ์กันกระแทก เป็นอุปกรณ์หลัก ๆ ในการแพ็คสินค้าแทบจะทุกชนิด เนื่องจากป้องกันไม่ให้สินค้าภายในเสียหายเมื่อโดนกระแทกจากการขนส่งได้ สำหรับวัสดุกันกระแทกสำหรับเพิ่มความปลอดภัยในการจัดส่งสินค้า เช่น กันกระแทกด้วยผักตบชวา, Air Cushion กันกระแทก, เม็ดโฟม, ฝอยกระดาษ หรือ ไม้ฝอย, กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper) และพลาสติกกันกระแทก
- ซอง/กล่องพัสดุ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในอุปกรณ์แพ็ค เพราะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ แม่ค้าออนไลน์ ทุกคนต้องใช้ โดยการเลือกกล่องก็สำคัญ ทั้งกล่องที่ควรมีขนาดเหมาะสมกับสินค้าเพื่อป้องกันการโคลงเคลง, กล่องที่มีการบุอย่างมีประสิทธิภาพไม่บางจนเกินไป และเหตุผลอีกมากมายที่ควรเลือกกล่องให้เหมาะสมกับสินค้า หรือ ตัวผลิตภัณฑ์
5. บริษัทขนส่งสินค้า-พัสดุ
บริษัทขนส่งไม่มากต่างจากปัจจุบันที่มีให้เลือกใช้บริการมากมายตามความสะดวก ซึ่งแต่ละเจ้าก็จะมีค่าบริการมากน้อยแตกต่างกันออกไป
1. ไปรษณีย์ไทย
ค่าจัดส่งพัสดุไปรษณีย์ไทยในเรตเริ่มต้น อันดับแรกต้องยกให้เค้าเลยกับบริษัทไปรษณีย์ไทย ซึ่งเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจของไทย มีที่ทำการกว่า 1,200 แห่งในประเทศ มีประสบการณ์ในการให้บริการรับ – ส่งของมายาวนาน
เวลาทำการ
- วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00น. – 20.00 น.
- วันเสาร์ เวลา 08.00น. – 17.00 น.
- วันอาทิตย์ เวลา 08.00น. – 12.00 น.
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
2. FLASH Express
บริษัทขนส่งมาแรงที่กำลังจะได้เป็นยูนิคอร์นตัวแรกของไทย เป็นอีกเจ้าที่น่าจับตามองเพราะมีบริการครอบคลุมอย่างมาก ให้บริการตลอดทุกวัน ไม่มีวันหยุด
เวลาทำการ
- วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 19.00 น.
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
3. Kerry Express
บริษัทขนส่งสินค้าเอกชนเจ้าแรกที่โด่งดังที่สุด มีสาขาเยอะและรวมถึงมีบริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ เช่น Family Mart, Tops, B2S, Officemate และรวมถึงสถานีรถไฟฟ้าบางแห่ง
เวลาทำการ
- วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 08.30 – 18.00 น. หยุดวันอาทิตย์
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
4. J&T Express
ขนส่งอีกเจ้าที่มาแรงจากอินโดนีเซีย โดยจะเน้นให้บริการกับ E-Commerce เป็นหลัก
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
5. SCG Express
ขนส่งสัญลักษณ์แมวดำ บริษัทขนส่งเอกชนมาตรฐานญี่ปุ่น เน้นให้บริการขนส่งพัสดุแบบเร่งด่วน ราคาเริ่มต้นที่ 25 บาท
เวลาทำการ
- วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08.00 – 19.00 น.
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
6. Ninja Van
บริษัทขนส่งพัสดุเอกชนครอบคลุมการจัดส่งทั่วพื้นที่ประเทศไทย ภายใต้สโลแกน “สะดวก รับส่งง่าย ใช้นินจา”
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
6. กฏหมายเบื้องต้นที่ควรรู้
แม้การขายของออนไลน์จะเริ่มแพร่หลายมาไม่กี่ปี แต่กฎหมายและข้อควรรู้ก็มีอยู่มากที่ควรทำความเข้าใจก่อนเริ่มต้นขายของออนไลน์ ข้อแรกสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่มีลูกเล่นการขายแพรวพราวต้องระวังเผลอโฆษณาเกินจริง รวมถึงการฝากร้านที่ดูไม่มีพิษภัยก็ต้องขออนุญาตเจ้าของ account นั้น ๆ ให้ดีเสียก่อน มิฉะนั้นอาจโดนฟ้องร้องข้อหาก่อกวนหรือสแปม สุดท้ายแม้การขายของออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ จะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่กำไรที่ได้ต้องนำมาคิดคำนวณจ่ายเป็นภาษีให้กับรัฐบาลเสมอ
7. เข้าใจการยื่นภาษีของ “ร้านค้าออนไลน์”
พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ ก็ต้อง “ยื่นภาษี” เช่นกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ค้าออนไลน์ที่มีรายได้ทางเดียวจากการขายของออนไลน์ หรือจะเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ขายของออนไลน์ควบคู่ไปด้วย ต่างก็ต้องยื่นภาษี 2 แบบ คือ ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90 โดยจะต้องยื่นภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนด
ขายของออนไลน์ รายได้เท่าไรถึงต้อง “เสียภาษี” ?
การขายของออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน) ยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะเสียภาษีหรือไม่เสียภาษีนี้จะต้องขึ้นอยู่กับว่าเรามี “เงินได้สุทธิ” หรือ “กำไรสุทธิ” เมื่อหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนออกไปแล้วเท่าไร ตามหลักเกณฑ์คือยิ่งมีเงินได้สุทธิมากย่ิงเสียภาษีในอัตราที่มาก ตามขั้นบันได ดังนี้
ทั้งนี้ในการยื่นภาษีของ แม่ค้าออนไลน์ สามารถเลือก “หักค่าใช้จ่าย” ได้ 2 แบบ คือ 1.แบบหักตามจริง และ 2. แบบเหมา 60%
1. หักค่าใช้จ่ายตามจริง
การหักค่าใช้จ่ายแบบนี้เหมาะกับผู้ค้าออนไลน์ที่มีต้นทุนสูงในการขายสินค้า เหมาะกับการยื่นภาษีแบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง เพราะวิธีนี้จะทำให้คนที่มีต้นทุนสูงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงด้วย
ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายไปแล้ว เงินได้สุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษีก็จะลดลงตามไป โดยวิธีนี้ต้องจัดเก็บรวบรวม “บัญชีรายรับรายจ่าย” พร้อม “หลักฐาน” ไว้ให้ครบถ้วนเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และช่วยลดความสับสนเมื่อต้อง ยื่นภาษี
2. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%
ส่วนการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาๆ เหมาะกับผู้ค้าออนไลน์ที่มีกำไรเยอะ เช่น กำไรที่แท้จริงหักค่าใช้จ่ายแล้วมีมากกว่า 40% หมายความว่าต้นทุนของธุรกิจจะน้อยกว่า 60% ของรายได้ทั้งหมด
กรณีนี้แนะนำให้เลือกใช้การยื่นภาษีแบบเหมา ซึ่งข้อดีของการยื่นแบบนี้ คือไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายใดๆ กับกรมสรรพากร และทำให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริง กับค่าใช้จ่ายแบบเหมานั่นเอง
- ‘ขายของออนไลน์’ ต้องยื่นภาษีเมื่อไร ?
พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ ที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะทำงานประจำไปด้วยหรือว่าขายของออนไลน์อย่างเดียวต่างก็ต้อง “ยื่นภาษี” โดยจะต้องยื่น 2 รอบ (ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90) ตามช่วงเวลาที่ “กรมสรรพากร” กำหนด ดังนี้
รอบแรก : “ยื่นภาษีครึ่งปี”
ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. มาแสดงในการยื่นภาษี ตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. ในปีเดียวกัน โดยสาเหตุที่ให้มีการเสียภาษีครึ่งปีเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้มีรายได้ เพื่อไม่ให้เสียภาษีหนักในครั้งเดียว
รอบที่ 2 : “ยื่นภาษีปลายปี”
ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ทั้งปี มากรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของปีถัดไป (เช่น เงินได้ปี 2563 ต้องยื่นภายใน มี.ค.2564)
นอกจากนี้ สำหรับผู้ขายของออนไลน์บางคน ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียน VAT หรือ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” และยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มทุกๆ เดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และมีหน้าที่ต้องออก “ใบกำกับภาษี” ให้กับผู้มาใช้บริการด้วย หมายความว่าหากมีรายได้จากการขายของออนไลน์ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ไม่ต้องจดทะเบียน VAT และไม่ต้องยื่นภาษี VAT นั่นเอง(2)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
(1) การตลาดออนไลน์ คืออะไร สำคัญอย่างไร
(2) ‘ขายของออนไลน์’ ต้อง ‘เสียภาษี’ หรือไม่ ?