ทุกวันนี้ เหล่าพ่อค้าแม่ขาย รวมถึงลูกค้า สามารถซื้อของได้ผ่านช่องทางหรือแพลตฟอร์มหลากหลายมากขึ้น ซึ่ง TikTok ก็ถือได้ว่าเป็นที่นิยมไม่น้อย เพราะคอนเทนต์เป็นวิดีโอสั้นที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และความแปลกใหม่เพื่อดึงดูดผู้ชม แต่พ่อค้าแม่ขายจะโพสต์ ขายของ TikTok ยังไงให้ดึงดูดล่ะ? วันนี้น้องไอเดีย ได้นำข้อมูลที่เพจ K SME ได้แปลบทความจาก TikTok For Business ที่เผยเทคนิคการเล่าเรื่องแบรนด์ ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
TikTok อาจไม่ใช่แอปพลิเคชั่นใหม่อะไรมากนัก เพราะเปิดตัวครั้งแรกก็เกือบ 3 ปีมาแล้ว แต่เราจะคุ้นเคยกันในฐานะของโฆษณาที่ชอบขึ้นมาเวลาเราดู Youtube หรือเล่น Facebook , Instagram จนทำให้เรารู้สึกว่าแอปพลิเคชั่นนี้จะไปมีอะไร นอกจากแอปพลิเคชั่นชวนคนเต้น
TikTok นี่แหละที่ถือเป็นแพลตฟอร์มที่มีการเติบโตได้อย่างรวดเร็วที่สุดในโลก ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปีเศษ TikTok มีผู้ดาวน์โหลดไปใช้งานแล้วมากกว่า 1,000 ล้านครั้ง และขึ้นแท่นเป็นสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงเป็นอับต้นๆ ของโลกไปแล้วเรียบร้อย
1. เล่าเรื่องราวเบื้องหลังเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
การเล่าประวัติความเป็นมาหรือเบื้องหลังแบรนด์จะช่วยให้เชื่อมแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายได้ดีมากขึ้น และยังได้สะท้อนด้านที่สำคัญหรือจำเป็นต่อกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย การใช้คอนเทนต์แบบการเล่าเรื่อง หรือ Storytelling นั่นเอง
“Storytelling” คือ เทคนิคการเล่าเรื่องที่มีที่มาที่ไป มีจุดเริ่มต้น และ จุดเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เพื่อผูกความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราว เพื่อสื่อสารอย่างเข้าใจ ช่วยให้เนื้อหาน่าติดตาม
สูตรการเล่าเรื่อง (Storytelling)
- Before (ก่อน) – แสดงให้ผู้อ่านรับรู้ถึงปัญหา นำเสนอผู้ชมด้วยปัญหาที่แบรนด์สามารถช่วยเหลือแก้ไขได้ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นและเริ่มเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาและควรได้รับการแก้ไข ซึ่งเราควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งที่ระบุนั้นสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้อ่านกำลังประสบปัญหาอยู่
- After (หลัง) – แสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าเมื่อแก้ปัญหาแล้วเป็นอย่างไร อธิบายถึงอนาคตที่ได้รับการแก้ไขปัญหาแล้ว ว่ามีลักษณะอย่างไร ดีขึ้นอย่างไร และพวกเขาได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
- Bridge (สะพาน) – แสดงให้เห็นว่าต่องทำอย่างไรถึงจะไปถึงจุดนั้น เมื่อพวกเขาเห็นแล้วว่าหากได้รับการแก้ไขแล้วจะส่งผลดีอย่างไรบ้างเราจึงควรแสดงให้เห็นว่าแล้วต้องทำอย่างไรถึงจะไปถึงจุดนั้นได้ ด้วยการมีแบรนด์เราเป็นตัวช่วย เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย
ตัวอย่าง Colgate แบรนด์ยาสีฟันที่หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกันดีก็ได้ใช้การเล่าเรื่องแบรนด์แบบ Before-After-Bridge โดยการเริ่มต้นด้วยปัญหาที่ว่าผู้ใหญ่ชอบให้ขนมกับลูกของตนเองเลยกลัวลูกจะฟันพุ และบอกว่าหากใช้ยาสีฟันแล้วจะช่วยให้ลูกของคุณมีฟันที่แข็งแรง สวย และไม่ฟันพุ ด้วยการใช้ยาสีฟันของ Colgate จะช่วยป้องกันฟันผุแบบมีประสิทธิ์ภาพ อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/content/7-formula-storytelling
Tips
- แนะนำสินค้าหรือบริการด้วยข้อความที่สื่อออกไปอย่างชัดเจน
- เชื่อมสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้แบรนด์โดยตรง
- วางการเล่าเรื่องให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่จุดเริ่มต้น การใช้ภาพและเสียง รวมถึงการใช้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายทำเพื่อเล่าเรื่องออกไป
- อย่าลืมปิดจบด้วย call-to-action (CTA) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้ว่าต้องทำอย่างไรต่อไปหากสนใจสินค้าหรือบริการ
2. แสดงผลลัพธ์ก่อนค่อยย้อนไปดูวิธีการ
ผู้ชมมักอยากรู้และเห็นสิ่งที่พวกเขาจะได้รับ เพราะฉะนั้น แบรนด์ควรแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้จากการใช้งานสินค้าคืออะไร ก่อนที่จะพาย้อนกลับไปที่วิธีการในการนำไปสู่ผลลัพธ์นั้น ผ่านการเล่าเรื่องและเทคนิคการตัดต่อคลิปวิดีโอในแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์
เพราะการเริ่มด้วยผลลัพธ์เปรียบเสมือนการเล่าเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น ที่เริ่มจากจุดไคลแม็กซ์ จากนั้นค่อยย้อนเหตุการณ์ไปเหมือนภาพแฟลชแบ็ก การนำเสนอวิดีโอในรูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้ชมได้รับความตื่นเต้นตั้งแต่เริ่มคลิป แถมยังช่วยสร้างการมีส่วนร่วมผ่านคอนเทนต์ได้อีกด้วย
Tips
- ใช้สิ่งที่จะเป็นตัวแสดงให้เห็นผลลัพธ์ของสินค้าหรือบริการของแบรนด์
- แยกขั้นตอนออกชัดเจนเพื่อแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นทำงานอย่างไรผ่านการเขียนบรรยายสั้น ๆ เพิ่มเติมในวิดีโอ
- แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่าง และอย่าลืมปิดจบด้วย call-to-action (CTA) เช่นเดิม
3. พูดให้โดนใจในเวลาอันสั้น
ควรแนะนำแบรนด์ของคุณเหมือนว่านี่คือครั้งแรกที่ทุกคนจะได้รู้จัก โฟกัสกับสิ่งที่กำลังขาย และไม่พูดในสิ่งที่ไม่จำเป็นเนื่องจากระยะเวลามีจำกัด ควรจัดลำดับวิธีการพูดให้น่าดึงดูดขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้คนคิดตามและฟังจนจบ
ควรแนะนำแบรนด์ของคุณเหมือนว่านี่คือครั้งแรกที่ทุกคนจะได้รู้จัก โฟกัสกับสิ่งที่กำลังขาย และไม่พูดในสิ่งที่ไม่จำเป็นเนื่องจากระยะเวลามีจำกัด ควรจัดลำดับวิธีการพูดให้น่าดึงดูดขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้คนคิดตามและฟังจนจบ และอย่าลืมเน้นย้ำความสำคัญต่อกลุ่มเป้าหมาย ให้รู้สึกเหมือนสินค้าเต็มไปด้วยประโยชน์และคุณค่ามากมายที่พวกเขาไม่มควรพลาด
Tips
- ใช้แคปชันเพื่อสื่อสารข้อความหรือ Tagline เพิ่มเติม
- ใช้เนื้อหาที่แสดงให้เห็นประสบการณ์ของผลิตภัณฑ์หรือบริการ
- ใช้การนำเสนอที่กระชับ เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการนำเสนอ และเกิดความต่อเนื่องในการรับชม
- ใส่แหล่งข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภครู้สึกต่อแบรนด์อย่างไร และอย่าลืมเชื่อม call-to-action (CTA)
4. Step by step
เล่ารายละเอียดแบบง่ายๆ เป็นขั้นตอน โดยใช้คำอธิบายที่กระชับแต่ชัดเจนและเชื่อมโยงกับภาพ เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพการใช้งานและเข้าใจสินค้าหรือบริการได้ดีมากยิ่งขึ้น
Tips
- เริ่มจากวางขั้นตอนที่จะพากลุ่มเป้าหมายให้รู้จักสินค้าหรือบริการไปทีละขั้น ผ่านคำอธิบายประกอบในวิดีโอ โดยให้เชื่อมโยงกับ key visual ของสินค้าหรือบริการ
- ถ่ายทอดวิธีการเป็นขั้นตอนให้เห็นชัดเจน
- อาจจบด้วยรีแอ็กชันหรือความคิดเห็นเหมือนกับคอนเทนต์ประเภท UGC เกี่ยวกับความรู้สึกในการใช้สินค้าหรือบริการนั้น ที่สำคัญอย่าลืมใส่ call-to-action (CTA)
5. เพิ่มเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
ทำให้เห็นว่าแบรนด์เข้ากับไลฟ์สไตล์ได้อย่างง่ายดาย เน้นการใช้งานสินค้าหรือบริการว่าสามารถใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน จะต้องแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้งานที่หลากหลายผ่านการนำเสนอที่แตกต่างกันไปในแต่ละเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อม
Tips
- แนะนำสินค้าหรือบริการผ่านคอนเทนต์ประเภท UGC หรือ DIY เพื่อเข้าถึงผู้ใช้จริงโดยตรง
- แบ่งเหตุการณ์อย่างน้อย 3 เหตุการณ์ในการนำเสนอการใช้งานสินค้าหรือบริการในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เห็นการใช้งานในด้านที่หลากหลาย
- ใช้รีแอ็กชันหรือคอมเมนต์จากครีเอเตอร์เพื่อให้สะดวกต่อการเข้าถึง
- ใส่ call-to-action (CTA)
6. ขายของ TikTok ต้องสะดวก รวดเร็ว และเชื่อถือได้
ทำให้เห็นว่า สินค้าหรือบริการของแบรนด์เข้าถึงได้ง่าย เช่น ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ ก็สามารถใช้งานได้ เป็นต้น ที่สำคัญ ทำให้เห็นว่าการครอบครองสินค้าหรือบริการนี้ช่างรวดเร็วและง่ายดาย
Tips
- แสดงให้เห็นขณะที่ใช้งานสินค้าหรือบริการ
- แสดงให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการสามารถใช้งานได้กับสภาพแวดล้อมทั่วไปขณะที่กำลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอยู่
- เพิ่มรีแอ็กชันในรูปแบบของคอนเทนต์ประเภท UGC หรือคำอธิบายเพิ่มเติม เพื่อระบุรายละเอียดและใส่ call-to-action (CTA)